ข้อมูลทั่วไปอำเภอแม่สะเรียง

ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลแม่สะเรียง

 

8

9

10

 

 

 

เครือข่ายสถานบริการสุขภาพแม่สะเรียง

ประกอบด้วย

สถานบริการหลัก : โรงพยาบาลแม่สะเรียง 

เครือข่ายสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 11 แห่ง

11

 

 

12

 

 

 

13

 

 

 

 

ปิรามิดประชากร

รวม  47,666 คน แบ่งเป็น

ชาย =    23,926  หญิง = 23,740

 

14

 

 

 

15

 

 

 

16

 

 

 

บุคลากรสาธารณสุขในเครือข่ายสถานบริการสุขภาพแม่สะเรียง

อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง

ตำแหน่ง จำนวน (คน)
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง
      - สาธารณสุขอำเภอ (ข้าราชการ) 1
     - นักวิชาการสาธารณสุข (ข้าราชการ)                      5
     - นักวิชาการการเงินและบัญชี (พนักงานราชการ) 1
     - เจ้าพนักงานสาธารณสุข (ข้าราชการ) 1
     - นักวิชาการสาธารณสุข (ลูกจ้างชั่วคราว)                      1
รวม 9
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

     - นักวิชาการสาธารณสุข

                ข้าราชการ

                ลูกจ้างเงินบำรุงโรงพยาบาล                                                                       

10

2

     - พยาบาลวิชาชีพ (ข้าราชการ)  

     - พยาบาลวิชาชีพ (ลูกจ้างเงินบำรุงโรงพยาบาล)                                                                          

11

2

     - เจ้าพนักงานสาธารณสุข 

                ข้าราชการ 

                ลูกจ้างเงินบำรุงโรงพยาบาล                     

17

2

     - เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

                ข้าราชการ                                         

                ลูกจ้างเงินบำรุงโรงพยาบาล                    

2

1

     - พนักงานสุขภาพชุมชน (ลูกจ้างประจำ)                 

     - แพทย์แผนไทย (ลูกจ้าง)                                  

1

1

รวม 49

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ทั้งอำเภอ)

1,015

 

 

 

 

17

ประวัติโรงพยาบาลแม่สะเรียง

       โรงพยาบาลแม่สะเรียงได้เริ่มก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. 2477 เรียกในสมัยนั้นว่า "สุขศาลา” ตั้งอยู่ที่ ถนนวัยศึกษา มีห้องพักเจ้าหน้าที่อยู่ในอาคารประมาณปี พ.ศ. 2488 ได้ยกฐานะเป็นสถานีอนามัยชั้น 1 มีนายแพทย์ประจำ      

       ในปี พ.ศ. 2504 ได้รับจัดสรรงบประมาณให้ทำการก่อสร้างเป็นสถานีอนามัยชั้น 1 ใหม่ ซึ่งบริการรับผู้ป่วยได้ประมาณ 10 เตียง และมีบ้านพักแพทย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 3 หลัง และภายหลังได้รับจัดสร้างเพิ่มเติมขึ้นอีก 3 หลังต่อมาได้ยกฐานะเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย

          ปี พ.ศ. 2518 ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลอำเภอ มีแพทย์ประจำ 2 คน

       ปี พ.ศ. 2522 ได้ทำการย้ายที่ตั้งมาอยู่บริเวณ เลขที่ 74 หมู่ที่ 1  ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันนี้ เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียงได้รับจัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างตามแบบแปลนเลขที่ 1563 แปลนสถานีอนามัยชั้น 1 และตึกผู้ป่วยในขนาด 30 เตียง เลขที่ 2022 บนพื้นทั้งหมด 8 ไร่ 34 ตารางวา

          ปี พ.ศ. 2526 ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ใช้พื้นที่ฝั่งตรงข้ามกับโรงพยาบาลอีก 24 ไร่  ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านพักของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในปัจจุบัน

          ปี พ.ศ. 2534 ได้รับจัดสรรงบประมาณโดยการแปรญัตติให้ขยายและยกฐานะเป็น

โรงพยาบาลขนาด 60 เตียง 

              ปี พ.ศ. 2538 ได้รับจัดสรรงบประมาณให้ขยายและยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด  90 เตียง และมีขีดความสามารถในการให้บริการผู้ป่วยได้ถึง 120 เตียง เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นมา และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (ปี 2540 - 2544) โรงพยาบาลแม่สะเรียงได้รับการพิจารณาให้มีการพัฒนาเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่

 

 

 

 

18    19    21

 

 

 

 

รายนามแพทย์หัวหน้าสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง

และรายนามผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สะเรียง

1. นายแพทย์สุวิทย์ พันธมุข ปี พ.ศ. 2489               สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง
2. นายแพทย์สมพงษ์     จิตการุณ              ปี พ.ศ. 2503              สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง
3.  นายแพทย์จิตถวัลย์ ณ ลำพูน ปี พ.ศ. 2506               สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง
4. นายแพทย์สุรพล เหล่าเจริญ         ปี พ.ศ. 2509              สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง
5. นายแพทย์มานิตย์     ประพันธ์ศิลป์    ปี พ.ศ. 2512                สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง
6. นายแพทย์ชัยวัฒน์    ศิริพงษ์               ปี พ.ศ. 2515               สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง
7. นายแพทย์ชัชวาล     ศิรินิรันดร์           ปี พ.ศ. 2518 - 2521      สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง
8. นายแพทย์วิทยุค นามศิริพงศ์พันธ์ ปี พ.ศ. 2522 - 2523      โรงพยาบาล 30 เตียง
9. นายแพทย์บุญชัย      สมบูรณ์สุข         ปี พ.ศ. 2524 - 2526      โรงพยาบาล 30 เตียง
10. นายแพทย์สุเทพ      วัชรปิยานันท์      ปี พ.ศ. 2527 - 2529      โรงพยาบาล 30 เตียง
11. นายแพทย์สมชาย โรจนรัตนางกูร   ปี พ.ศ. 2530 - 2534      โรงพยาบาล 30 เตียง
12. นายแพทย์สมเกียรติ อัครศรีประไพ   ปี พ.ศ. 2534 - 2535      โรงพยาบาล 30 เตียง
13. นายแพทย์ธำรง       หาญวงศ์              ปี พ.ศ. 2535 - 2542      โรงพยาบาล 90 เตียง
14. นายแพทย์ณรงค์     เห็นประเสริฐแท้  ปี พ.ศ. 2542 - 2546     โรงพยาบาล 90 เตียง
15. นายแพทย์สุเมธ      องค์วรรณดี ปี พ.ศ. 2546 - 2548    โรงพยาบาล 90 เตียง
16. นายแพทย์เติมชัย    เต็มยิ่งยง ปี พ.ศ. 2548 - 2555 โรงพยาบาล 90 เตียง
17. นายแพทย์วรัญญู    จำนงประสาทพร ปี พ.ศ. 2555 - 2559 โรงพยาบาล 90 เตียง 
18. นายแพทย์ทศพล ดิษฐ์ศิริ ปี พ.ศ. 2559 - โรงพยาบาล 90 เตียง

 

 

20

 

อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ : โรงพยาบาลแม่สะเรียง

ประกอบด้วย      
1.  ข้าราชการ                     จำนวน   143 คน
2.  พนักงานราชการ          จำนวน   9 คน
3.  ลูกจ้างประจำ จำนวน   9 คน
4.  พนักงานกระทรวง               จำนวน   124 คน
5.  อื่นๆ (ลจ.ชั่วคราว / จ้างเหมา / รายวัน) 71
                                                          รวม 356 คน

โดยจำแนกเป็น

     
1.  แพทย์ประจำ                 จำนวน   14 คน
     - แพทย์ทั่วไป จำนวน   3 คน
     - แพทย์เฉพาะทาง จำนวน   11 คน
2.  ทันตแพทย์                       จำนวน   6 คน
3.  เภสัชกร                                    จำนวน   7 คน
4. นักวิชาการ / จพ.การเงินและบัญชี จำนวน   8 คน
5. จพ.ธุรการ จำนวน   12 คน
6.  นักวิชาการสาธารณสุข              จำนวน   8 คน
7.  นักเทคนิคการแพทย์              จำนวน   5 คน
8.  จพ.สาธารณสุข   จำนวน   2 คน
9.  จพ.วิทยาศาสตร์การแพทย์  จำนวน   3 คน
10.  จพ.เภสัชกรรม                  จำนวน   7 คน
11.  นักรังสีการแพทย์/จพ.รังสีการแพทย์            จำนวน   2 คน
12.  จพ.ทันตสาธารณสุข จำนวน   1 คน
13.  เจ้าพนักงานเวชสถิติ                 จำนวน   2 คน
14.  เจ้าพนักงานเวชกรรมฟื้นฟู จำนวน   1 คน
15. โภชนากร จำนวน   1 คน
16. นักโภชนาการ จำนวน 1 คน
17. นักกายภาพบำบัด จำนวน   2 คน
18. นักกิจกรรมบำบัด จำนวน 1 คน
19. พยาบาลวิชาชีพ จำนวน   101 คน
20. พยาบาลเทคนิค จำนวน   3 คน
21. นักจิตวิทยา จำนวน 1 คน
22. นักสังคมสงเคราะห์ จำนวน 0 คน
23. นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 คน
24. นักวิชาการพัสดุ จำนวน 1 คน
25. อื่นๆ จำนวน 111 คน

 

 

ข้อมูลทั่วไปอำเภอแม่สะเรียง

อำเภอแม่สะเรียง

“เทียนเหงพร่างตา ผ้าทอกระเหรี่ยง   เสนาะเสียงสาละวิน

งามถิ่นธรรมชาติ   พระธาตุ 4 จอม   กล้วยไม้หอมเอื้องแซะ

อำเภอแม่สะเรียง เป็นหนึ่งใน 7 อำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดเป็นอำเภอที่มีความสำคัญ   ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) มากถึงประมาณ 164 กิโลเมตร จึงเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการในระดับจังหวัดหลายแห่ง  เช่น ศาลจังหวัด อัยการจังหวัด เรือนจำอำเภอ คลังจังหวัด ที่ดินจังหวัด ขนส่งจังหวัดด่านศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมือง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าอากาศยานเป็นต้น รวมทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางการค้าและพาณิชย์สำหรับอำเภออื่นๆ ที่อยู่ข้างเคียง เช่น อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียงจัดเป็นอำเภอชั้น 1 ตามการจัดระดับชั้นของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ระดับอำเภอ ของกรมการปกครอง มีนายอำเภอที่ดำรงตำแหน่งเป็นระดับ 9

ประวัติ

เมืองแม่สะเรียงมีชื่อในประวัติศาสตร์ว่า เมืองยวมใต้ หรือ เมืองยวม เคยเป็นที่ตั้งชุมชนมาไม่น้อยกว่า 600 ปี และเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา เคยมีบุคคลสำคัญของเมืองยวม หลายคนที่มีบทบาทอยู่ในประวัติศาสตร์และเป็นมหาราชแห่งอาณาจักรล้านนา คือ "ท้าวลก" (เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่าเป็นราชบุตรองค์ที่ 6 ของพระราชบิดา)ผู้ครองเมืองยวมใต้ในรัชกาลพญาสามฝั่งแกน กษัตริย์อาณาจักรล้านนา    ต่อมาท้าวลกได้รับการสนับสนุนจากขุนนางเมืองเชียงใหม่ชื่อ นายสามเด็กย้อย (เป็นบุตรคนที่ 3 ของพ่อแม่ นามตัวว่า "เด็กย้อย") ลอบชิงราชบัลลังก์จากพระราชบิดา โดยเนรเทศพระราชบิดา   ไปอยู่เมืองสาด ซึ่งตั้งอยู่ทิศเหนือของอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ไปประมาณ 60 กิโลเมตร (ปัจจุบันอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า) ต่อมาพระเจ้าติโลกราช (ท้าวลก) ได้เป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านนา ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ทิศเหนือตีได้เมืองเชียงรุ่ง(มณฑลยูนนาน ประเทศจีน)เมืองเชียงตุง(รัฐฉาน ประเทศพม่า) ทิศตะวันตกได้รัฐฉานทั้งหมด ทิศตะวันออกได้ล้านช้าง ทิศใต้จรดชายแดนกับอยุธยา โดยในปี พ.ศ. 2023 กองทัพหน้าของพระองค์จำนวน 40,000 นายอาจหาญสู้ศึกชนะกองทัพไดเวียต (เวียดนาม) ซึ่งยกพลมหึมาร่วม 200,000นายยึดได้ล้านช้างแล้วตรงเข้ามาเชียงใหม่ ครั้งนั้น กองทัพหน้าแสดงปรีชาสามารถในการรบจน           ทัพไดเวียตแตกพ่าย แม่ทัพนายกองถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก บ้างก็ถูกจับเป็นเชลย กิตติศัพท์ เลื่องลือทราบถึงจักโรงพยาบาลรรดิจีนพระนามเซี่ยนซงหรือเฉิงฮั่วแห่งราชวงศ์หมิง(พ.ศ. 2007-2030) ยอมรับในพระเดชานุภาพ จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้พระเจ้าติโลกราช เป็นเสมือนรองจักโรงพยาบาลรรดิ (ลำดับที่ 2) โดยจารึกในพระสุพรรณบัฏ (แผ่นทองคำ) ความว่า "...ที่ใดก็ตามที่ปรากฏศัตรูขึ้นในแปดทิศของจักรวรรดิ์แห่งจักโรงพยาบาลรรดิ์อุทิป วา ผู้ครองทุกสิ่งภายใต้สวรรค์ ท้าวล้านนา เจ้าฟ้าแห่งนครเชียงใหม่ มีอำนาจจะปราบปรามและลงโทษศัตรูนั้นได้" ในปี พ.ศ. 2522 ให้มีพระราชอำนาจจัดการปราบปรามกษัตริย์ต่าง ๆ ในด้านทิศตะวันตก พร้อมกับให้เสนาบดีผู้ใหญ่ 2 คน เดินทางมานครเชียงใหม่เพื่อมอบตราตั้งของจักโรงพยาบาลรรดิจีนพร้อมเครื่องประกอบ เกียรติยศจำนวนมาก อาทิ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องประดับเศียร ทับทรวง คาดหน้าผาก กรรเจียกจร   จำหลักลาย ศิราภรณ์ สร้อยคอ เพชร ฯลฯ

หมื่นด้ามพร้าคดนายช่างเอกของพระเจ้าติโลกราชที่ได้ฝากฝีมือไว้ในผลงานชิ้นเยี่ยมที่ยังคงอยู่ไว้ในปัจจุบันอันได้แก่ พระเจดีย์เจ็ดยอดที่วัดเจ็ดยอดและพระเจ้าแข้งคม ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีเกิดจังหวัดเชียงใหม่

เทพสิงห์วีระบุรุษแห่งเมืองยวมผู้สร้างวีรกรรมอันห้าวหาญในการคุมกำลังพลเข้าล้างอำนาจของพม่าในล้านนาได้สำเร็จ

เมืองยวม เคยเป็นถิ่นฐานอาศัยของชนเผ่าดั้งเดิม คือ คนพื้นเมือง ละว้า และกะเหรี่ยง ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเรียกชื่อว่า “อำเภอเมืองยวม” จนกระทั่งปี พ.ศ. 2467 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าชื่ออำเภอเมืองยวมนั้นไปพ้องกับอำเภอขุนยวมซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกันจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอแม่สะเรียง” ตามชื่อของลำน้ำ แม่สะเรียงที่ไหลผ่านอำเภออีกสายหนึ่งแทน อำเภอแม่สะเรียงในอดีตยังเคยเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ มากที่สุดในประเทศไทย (ปัจจุบันอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยคือ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก) แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองดังนี้

พ.ศ. 2491 แยกพื้นที่ตำบลท่าสองยางมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอท่าสองยาง และโอนให้มาขึ้นกับอำเภอ แม่สอด จังหวัดตาก

พ.ศ. 2507 แยกพื้นที่ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง รวมกับตำบลแม่ลาหลวง อำเภอขุนยวมมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย

พ.ศ. 2527 แยกพื้นที่ตำบลสบเมย แม่คะตวน ป่าโป่ง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสบเมย

แผนท

ลักษณะที่ตั้ง

อำเภอแม่สะเรียง  เป็นอำเภอที่อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน  พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ  90 เป็นภูเขาสลับซับซ้อนและป่าทึบ  เนื้อที่รวมกันทั้งหมด 2,497.2  ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 18.9  ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

แผนท2

อาณาเขตติดต่อ

อำเภอแม่สะเรียงอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ทิศเหนือ   ติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยงและรัฐกะยา (ประเทศพม่า) และอำเภอแม่ลาน้อย

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่แจ่มและอำเภอฮอด (จังหวัดเชียงใหม่)

ทิศใต้               ติดต่อกับอำเภอสบเมย

ทิศตะวันตก      ติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)

ลักษณะภูมิประเทศ

อำเภอแม่สะเรียงเป็นอำเภอชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศตะวันตกตลอดแนวระยะทาง 166 กิโลเมตร มีแม่น้ำสาละวินกั้น เขตแดนระยะทาง 101 กิโลเมตร  มีสันเขาขุนแม่ลอง เสาหินดอยผาตั้ง เป็นเส้นกั้นเขตแดนทางบกระยะทาง 65 กิโลเมตรสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าเขาทุรกันดาร พื้นที่ราบลุ่มที่เหมาะสมกับการตั้งชุมชน และทำการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในตำบล แม่ยวม ตำบลแม่คง ตำบลบ้านกาศ และตำบลแม่สะเรียง มีพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-1,200 เมตร(Highland)  มีภูมิอากาศที่หนาวเย็นตลอดปี เหมาะสมแก่การปลูกพืชเมืองหนาวที่ตำบลแม่เหาะ และป่าแป๋ มีแม่น้ำไหลผ่านจำนวน 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำยวม แม่น้ำแม่สะเรียง และแม่น้ำสาละวิน (แม่น้ำคง) ที่ไหลจากทิเบต ประเทศจีน

 ลักษณะภูมิอากาศ    

อำเภอแม่สะเรียง มีพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-1,200 เมตร มีภูมิอากาศที่หนาวเย็นตลอดปี เหมาะสมแก่การปลูกพืชเมืองหนาวที่ตำบลแม่เหาะ และป่าแป๋    

        

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 77 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ตำบลบ้านกาศ 13     หมู่บ้าน
  2 ตำบลแม่สะเรียง 9      หมู่บ้าน
3. ตำบลแม่คง 11     หมู่บ้าน
4. ตำบลแม่เหาะ 13     หมู่บ้าน
5. ตำบลแม่ยวม 13     หมู่บ้าน
6. ตำบลเสาหิน 6      หมู่บ้าน
7. ตำบลป่าแป๋ 12     หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอแม่สะเรียงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

1. เทศบาลตำบลแม่สะเรียง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านกาศและบางส่วนของตำบลแม่สะเรียง

2. เทศบาลตำบลแม่ยวม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ยวมทั้งตำบล

3. เทศบาลตำบลเมืองยวมใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สะเรียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแม่สะเรียง)

4. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาศ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกาศ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแม่สะเรียง)

5. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่คงทั้งตำบล

6. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เหาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เหาะทั้งตำบล

7. องค์การบริหารส่วนตำบลเสาหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสาหินทั้งตำบล

8. องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแป๋ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแป๋ทั้งตำบล

การคมนาคม

อำเภอแม่สะเรียงกับตำบลและหมู่บ้านต่างๆ เส้นทางที่สามารถใช้รถยนต์เข้าถึงได้ตลอดปี  เพียง 37 หมู่บ้าน รถยนต์เข้าถึงเฉพาะ ฤดูแล้ง 24 หมู่บ้าน อีก 16 หมู่บ้านต้องเดินด้วยเท้าทุกฤดูกาล

          

ประชากร

อำเภอแม่สะเรียงเป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน     โดยมีประชากร ทั้งสิ้น 54,529 คน เป็นชาวเขาประมาณร้อยละ 60 เป็นชาวไทยเหนือประมาณร้อยละ 37 และอีกร้อยละ 3 เป็นคนเชื้อสายอื่น 

สถานที่สำคัญ

สถานที่ แห่ง
ศาสนสถาน
โรงเรียน 65
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 31
ตลาดสด 2
ร้านอาหาร / แผงลอย 69
สถานประกอบการ ธุรกิจสุขภาพ และเสริมสวย 199

สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ

- โรงพยาบาลแม่สะเรียง

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

12

1

11

สัญลักษณ์และแหล่งท่องเที่ยว

 

 

3

พระธาตุ 4 จอม

 

                                    4                                                                       5

                            แม่น้ำสาละวิน                                          ประเพณีแห่เทียน

 

 

                                   6                                                           7

                               ดอกเอื้อง                                                ผ้าทอกระเหรี่ยง